'ซุปเปอร์บัก'มันคืออะไรน่ากลัวที่สุด!!! มหันตภัยเงียบสะพรึงโลก เมื่อยาฆ่าแบคทีเรียไม่ได้



loading...


    แบคทีเรีย สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส ต้านยาเมธิซิลลิน (ภาพ: gettyimages)

จากกรณีสหรัฐฯ รายงานการพบเชื้อแบคทีเรีย 'อีโคไล' ซึ่งพัฒนาเป็นซุปเปอร์บักที่ต้านทานยาปฏิชีวนะหลายชนิด รวมทั้ง 'โคลิสติน' ยาที่หมอจะใช้เมื่อยาปฏิชีวนะอื่นๆ ใช้ไม่ได้ผลแล้ว จนถูกเรียกว่าเป็นปราการด่านสุดท้าย ทำให้เกิดการตื่นตัวเรื่องอันตรายของเชื้อดื้อยา ซึ่งอาจคุกคามโลกของเราโดยคนส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว

ยาปฏิชีวนะเป็นยาสำคัญซึ่งใช้ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียให้แก่สิ่งมีชีวิตมานานกว่า 70 ปี โดยมันจะไปขัดขวางกระบวนการที่แบคทีเรียต้องใช้เพื่อการอยู่รอด หรือป้องกันไม่ให้พวกมันเพิ่มจำนวน แต่ทว่ายาเหล่านี้เริ่มมีประสิทธิภาพน้อยลงทุกที และอาจไม่ส่งผลใดๆในที่สุด โดยที่มนุษย์ยังไม่ทางเลือกอื่นๆ ที่จะมาทดแทนยาปฏิชีวนะได้เลย

ภาพเปรียบเทียบผลของยาปฏิชีวนะต่อแบคทีเรีย โดยพบว่า แบคทีเรียในถาดซ้ายซึ่งไม่มียีนดื้อยา รอบหยดยาปฏิชีวนะหายไปเป็นวงกว้างขณะที่แบคทีเรียดื้อยาในถาดขวาแทบไม่ลดลงเลย(ภาพ: gettyimages)

ซุปเปอร์บักเกิดขึ้นได้อย่างไร?

เมื่อมนุษย์หรือสัตว์มีอาการป่วยจากเชื้อแบคทีเรีย ในร่างกายจะมีแบคทีเรียก่อโรคชนิดนั้นๆ อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจมีบางเซลล์ที่มีโมเลกุลของดีเอ็นเอ หรือ 'พลาสมิด' (plasmid) ซึ่งมียีนต้านทานยาปฏิชีวนะ ซึ่งอาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือการกลายพันธ์ุ และเมื่อคนไข้ได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อ แบคทีเรียเหล่านี้จะยังรอดชีวิต

จากนั้น แบคทีเรียที่ความต้านทานยาปฏิชีวนะก็จะแบ่งเซลล์สร้างแบคทีเรียที่มีพลาสมิดเหล่านี้มากขึ้น ทำให้การป้องกันตามธรรมชาติของร่างกายต้องทำงานอย่างหนักเพื่อต่อสู้กับเชื้อเหล่านี้

พลาสมิดต้านยาปฏิชีวนะยังสามารถแพร่กระจายภายในหมู่พลเมืองได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากแบคทีเรียบางชนิดยังสามารถสร้างเชื้อรุ่นใหม่ได้ภายในเวลาเพียง 20 นาที พลาสมิดยังสามารถส่งผ่านจากแบคทีเรียตัวหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่งได้จากการสัมผัสโดยตรง หรือผ่าน พิไล (pili) เส้นใยคล้ายสะพานที่เชื่อมระหว่างเซลล์ นอกจากนี้ ไวรัสชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า แบคเทอริโอเฟจ (bacteriophage) หรือเรียกย่อๆ ว่า เฟจ ซึ่งเป็นไวรัสที่ต้องอาศัยอยู่กับเซลล์ของแบคทีเรียเพื่อการเจริญและเพิ่มจำนวน ก็สามารถส่งผ่านพลาสมิดไปยังแบคทีเรียตัวอื่นได้เช่นกัน

สายพันธ์ุแบคทีเรียที่มียีนต้านยาปฏิชีวนะหลายๆ ชนิด จะถูกเรียกว่า ซุปเปอร์บัก เช่น เชื้อแบคทีเรียก่อโรคอาหารเป็นพิษ 'สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส ต้านยาเมธิซิลลิน' (MRSA) หรือเชื้อ 'อีโคไลต้านยาโคลิสติน' ซึ่งเพิ่งพบเป็นครั้งแรกในสหรัฐฯ เมื่อไม่นานมานี้ โดยซุปเปอร์บักสามารถสร้างปัญหาใหญ่ให้แก่ผู้ให้บริการสาธารณสุข เนื่องจากเหลือยาปฏิชีวนะเพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถฆ่าและหยุดการแบ่งตัวของแบคทีเรียพวกนี้ได้

    มนุษย์ไม่พบยาปฏิชีวนะชนิดใหม่มานาน (ภาพ: AFP)

มนุษย์กำลังจะไม่มียาปฏิชีวนะใช้แล้ว

ในขณะที่เชื้อแบคทีเรียกำลังพัฒนาตัวเองให้ต้านทานยาปฏิชีวนะที่มนุษย์มีอยู่ได้ ในทางกลับ การวิจัยเพื่อคิดค้นยาปฏิชีวนะชนิดใหม่เพื่อต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียกลับไม่มีความคืบหน้าเลยแม้แต่น้อย โดยมนุษย์ไม่มีการค้นพบยาปฏิชีวนะชนิดใหม่มานานถึง 25 ปีแล้ว นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1980 และในปัจจุบันแบคทีเรียบางสายพันธ์ุต้านทานยาปฏิชีวนะที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมาเพื่อจัดการกับมันเกือบทุกชนิดแล้ว



loading...


ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเตือนด้วยว่า มนุษย์ล้าหลังในการแข่งขันกับซุปเปอร์บักนานหลายทศวรรษ พวกเราใช้ประโยชน์จากยาปฏิชีวนะที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติเกือบทั้งหมดแล้ว ดังนั้น การสร้างยาตัวใหม่จำเป็นต้องใช้เวลายาวนานและความรู้มากมาย แต่กลับมีการสนับสนุนทางการเงินให้ทำเช่นนั้นเพียงน้อยนิด เพราะบริษัทเภสัชกรรมต่างๆ มุ่งเน้นในการผลิตยาสำหรับโรคเรื้อรังมากกว่า เพื่อแสวงหาผลกำไรจากยาชนิดใหม่ให้ได้มากที่สุด

    ตัวเลขประเมินผู้เสียชีวิตจากซุปเปอร์บักในทวีปต่างๆ (ภาพ: BBC)


ในปี 2050 แบคทีเรียดื้อยาจะฆ่าคนมากกว่าโรคมะเร็ง

ปัจจุบัน เชื้อแบคทีเรียดื้อยาทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 700,000 คนทั่วโลกในแต่ละปี แต่ผลการศึกษาเมื่อปี 2014 ของนักเศรษฐศาสตร์ จิม โอ'นีลล์ ชี้ว่า ภายในปี 2050 ซุปเปอร์บักจะทำให้มีผู้เสียชีวิตถึงปีละ 10 ล้านคน มากกว่าโรคมะเร็งทุกชนิดรวมกัน หากโลกไม่มีมาตรการเพื่อรับมือเรื่องนี้

โอ'นีลล์ระบุว่า ผลกระทบจากเชื้อดื้อยาจะส่งผลแต่ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่เกิดใหม่อย่างกลุ่ม บริค (Bric: บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย และจีน) และกลุ่ม มินต์ (Mint: เม็กซิโก, อินโดนีเซีย, ไนจีเรีย และตุรกี) มาที่สุด "ในปี 2050 ผู้เสียชีวิต 1 จาก 4 รายของไนจีเรียจะมีสาเหตุมาจากเชื้อดื้อยา ขณะที่อินเดียอาจมีประชากรเสียชีวิตเพราะซุปเปอร์บักถึง 2 ล้านคนทุกปี"

ทีมวิจัยเชื่อว่า รายงานชิ้นนี้แสดงให้เห็น การประเมินผลกระทบจากความล้มเหลวในการรับมือเชื้อดื้อยาต่ำเกินไปอย่างมีนัยสำคัญ ตัวเลขที่ออกมายังไม่รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดกับระบบสาธารณสุขในโลกที่ยาปฏิชีวนะใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป เพราะการผ่าตัด, การรักษามะรังด้วยวิธีคีโมบำบัด ล้วนต้องพึ่งพายาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อทั้งสิ้น และเมื่อยาปฏิชีวนะใช้ได้ผลแล้ว แม้แต่แผลของมีคมบาด ก็อาจติดเชื้อจนทำให้ถึงตายได้

    มนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยีนดื้อยาแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว (ภาพ: AFP)

มนุษย์นี่แหละ ทำปัญหาเลวร้ายขึ้น

ผลการวิจัยหลายชิ้นบ่งชี้ว่า พฤติกรรมของมนุษย์ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยีนต้านยาปฏิชีวนะในแบคทีเรียแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในภาคการเกษตรและสาธารณสุข เพราะการต้านทานมักเกิดขึ้นในที่ที่แบคทีเรียสัมผัสกับยาปฏิชีวนะบ่อยๆ และมีมนุษย์หรือสัตว์จำนวนมากให้เป็นทีอยู่อาศัย แบคทีเรียต้านยาปฏิชีวนะสามารถแพร่กระจายจากฟาร์มต่างๆและโรงพยาบาลเข้าสู่สังคม ทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านระบบน้ำประปา จากนั้นผู้คนก็ส่งต่อแบคทีเรียเหล่านี้ให้แก่กันและกันด้วยการไอ หรือสัมผัสกับมือที่ไม่สะอาด

นอกจากนี้ ในช่วงปลายปี 2015 องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาเตือนว่า ประชาชนทั่วโลกกำลังสับสนอย่างน่าเป็นห่วงเกี่ยวกับบทบาทของยาปฏิชีวนะ และวิธีการใช้ยานี้ให้ถูกต้อง ซึ่งการเพิกเฉยต่อเรื่องนี้ยิ่งทำให้ซุปเปอร์บักมีปริมาณมากขึ้น

ผลการสำรวจความตระหนักรู้ของสังคมของ WHO ซึ่งมีผู้รับการสำรวจ 10,000 คนจาก 12 ประเทศคือ บาร์บาดอส, จีน, อียิปต์, อินเดีย, อินโดนีเซีย, เม็กซิโก, ไนจีเรีย, รัสเซีย, เซอร์เบีย, แอฟริกาใต้, ซูดาน และเวียดนาม พบว่า ผู้รับการสำรวจถึง 64% เข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิงว่า ยาจำพวกเพนิซิลินและยาปฏิชีวนะอื่นๆ สามารถรักษาโรคหวัดและไข้หวัดใหญ่ได้ ทั้งที่จริงๆ แล้ว ยาปฏิชีวนะไม่มีผลต่อเชื้อไวรัสเลยมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยีนดื้อยาแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว (ภาพ: AFP)
มนุษย์นี่แหละ ทำปัญหาเลวร้ายขึ้น

ผลการวิจัยหลายชิ้นบ่งชี้ว่า พฤติกรรมของมนุษย์ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยีนต้านยาปฏิชีวนะในแบคทีเรียแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในภาคการเกษตรและสาธารณสุข เพราะการต้านทานมักเกิดขึ้นในที่ที่แบคทีเรียสัมผัสกับยาปฏิชีวนะบ่อยๆ และมีมนุษย์หรือสัตว์จำนวนมากให้เป็นทีอยู่อาศัย แบคทีเรียต้านยาปฏิชีวนะสามารถแพร่กระจายจากฟาร์มต่างๆและโรงพยาบาลเข้าสู่สังคม ทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านระบบน้ำประปา จากนั้นผู้คนก็ส่งต่อแบคทีเรียเหล่านี้ให้แก่กันและกันด้วยการไอ หรือสัมผัสกับมือที่ไม่สะอาด

นอกจากนี้ ในช่วงปลายปี 2015 องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาเตือนว่า ประชาชนทั่วโลกกำลังสับสนอย่างน่าเป็นห่วงเกี่ยวกับบทบาทของยาปฏิชีวนะ และวิธีการใช้ยานี้ให้ถูกต้อง ซึ่งการเพิกเฉยต่อเรื่องนี้ยิ่งทำให้ซุปเปอร์บักมีปริมาณมากขึ้น

ผลการสำรวจความตระหนักรู้ของสังคมของ WHO ซึ่งมีผู้รับการสำรวจ 10,000 คนจาก 12 ประเทศคือ บาร์บาดอส, จีน, อียิปต์, อินเดีย, อินโดนีเซีย, เม็กซิโก, ไนจีเรีย, รัสเซีย, เซอร์เบีย, แอฟริกาใต้, ซูดาน และเวียดนาม พบว่า ผู้รับการสำรวจถึง 64% เข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิงว่า ยาจำพวกเพนิซิลินและยาปฏิชีวนะอื่นๆ สามารถรักษาโรคหวัดและไข้หวัดใหญ่ได้ ทั้งที่จริงๆ แล้ว ยาปฏิชีวนะไม่มีผลต่อเชื้อไวรัสเลย

    ผู้ป่วยใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดเชื้อดื้อยามากขึ้น (ภาพ: gettyimages)


ผู้รับการสำรวจราว 1 ใน 3 มีความเชื่อผิดๆว่า พวกเขาควรหยุดรับยาปฏิชีวนะเมื่อพวกเขามีอาการดีขึ้นแล้ว แทนที่ทานยาให้ครบตามแพทย์สั่ง ขณะที่ผู้รับการสำรวจราว 30% คิดว่าการดื้อยาหมายถึง การที่ร่างกายต้านทานยาปฏิชีวนะ แต่ความจริงคือ เชื้อแบคทีเรียต่างหากที่ต้านทานผลของยา ทำให้การรักษายากขึ้น

นอกจากนี้ ผู้รับการสำรวจประมาณ 66% เชื้อว่าพวกเขาไม่มีความเสี่ยงจากเชื้อดื้อยา หากพวกเขาทานยาปฏิชีวนะครบตามแพทย์สั่ง และราว 50% คิดว่าการดื้อยาจะเกิดกับผู้ที่กินยาปฏิชีวนะบ่อยๆ แต่ในความเป็นจริง ไม่ว่าใคร, อยู่ที่ใด, อายุเท่าไร ก็สามารถติดเชื้อซุปเปอร์บักได้ทั้งนั้น

นายเคอิจิ ฟุคุดะ ผู้แทนพิเศษด้านเชื้อต้านยาต้านจุลชีพ กล่าวว่า "การค้นพบครั้งนี้ ชี้ให้ความเร่งด่วนของการพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ" ส่วนนางมาการ์เร็ต ชาน ผู้อำนาจการ WHO เรียกร้องให้แพทย์ทำความเข้าใจกับคนไข้ ไม่ให้พวกเขาขอยาปฏิชีวนะเพื่อใช้รักษาโรคที่ยาไม่ได้ผล และขอให้คนไข้ทานยาตามที่แพทย์สั่งให้ถูกต้อง




loading...


ที่มา:http://www.thairath.co.th/content/630942


EmoticonEmoticon